แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร




facebook

แบบสำรวจความคิดเห็น

ช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน



ระบบจัดการเว็บไซต์

ศูนย์ดำรงธรรม

e-plannacc

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 06/01/2564
วันนี้
73
เมื่อวานนี้
114
เดือนนี้
448
เดือนที่แล้ว
5,251
ปีนี้
29,040
ปีที่แล้ว
68,746
ทั้งหมด
514,687
ไอพี ของคุณ
44.192.92.49

สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลต้นธง

สภาพทั่วไปของตำบลต้นธง
        เทศบาลตำบลต้นธง  ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลต้นธงเป็นเทศบาลตำบลต้นธง  เมื่อวันที่  ๒๗  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๕๒  เป็นเทศบาลขนาดกลาง

ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลต้นธง  อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน  ตั้งอยู่เลขที่  200   หมู่ที่   10    ตำบลต้นธง   อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน  อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดลำพูนเป็นระยะทางประมาณ  2  กิโลเมตร

เนื้อที่
ตำบลต้นธงมีเนื้อที่ประมาณ  22.78   ตารางกิโลเมตร  หรือ  14,611.21   ไร่

ภูมิประเทศ
ตำบลต้นธง  มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  มีแม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงไหลผ่านมีพื้นที่ทางการเกษตร  จำนวน  7,๗๖๐  ไร่

อาณาเขต
ทิศเหนือ          ติดต่อ     ตำบลริมปิง , เหมืองง่า , เทศบาลเมืองลำพูน  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน
ทิศใต้             ติดต่อ     ตำบลปากบ่อง  อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน (ติดกับแม่น้ำปิงและแม่น้ำกวงมาบรรจบกัน)
ทิศตะวันออก    ติดต่อ     ตำบลเวียงยอง  ตำบลบ้านแป้น  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน (ติดกับแม่น้ำกวง)
ทิศตะวันตก      ติดต่อ     ตำบลแม่ก๊า  อำเภอสันป่าตอง  จังหวัดเชียงใหม่ (ติดกับแม่น้ำปิง)

จำนวนหมู่บ้าน  มี  11  หมู่บ้าน 
    จำนวนหมู่บ้านมี  11  หมู่บ้าน  อยู่ในเขตเทศบาลตำบลต้นธง  เต็มหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน  โดยมีการปกครองท้องที่โดยมีกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล
หมู่ที่  1   บ้านสันต้นธง        ผู้ใหญ่บ้าน        นายธวัช          เขียวธง
หมู่ที่  2   บ้านสันต้นธง        ผู้ใหญ่บ้าน        นายไพบูลย์       เชษฐธง
หมู่ที่  3     บ้านบ่อแฮ้ว        ผู้ใหญ่บ้าน       นายสุรสิทธิ์       ทองจินดา
หมู่ที่  4   บ้านศรีย้อย          ผู้ใหญ่บ้าน        นายสงวน        เชษฐธง
หมู่ที่  5   บ้านพันตาเกิน       ผู้ใหญ่บ้าน        นายสัมพันธ์       อะพิเนตร
หมู่ที่  6   บ้านสันมะนะ         ผู้ใหญ่บ้าน        นายสมศักดิ์      ปัญจธง
หมู่ที่  7   บ้านจักรคำภิมุข     ผู้ใหญ่บ้าน        นายเอนก         ธนัญชยานนท์
หมู่ที่  8   บ้านใหม่สันมะนะ    กำนันตำบลต้นธง นายอรรณพ   อินทร์วรรณ
หมู่ที่  9   บ้านปากล้อง        ผู้ใหญ่บ้าน        นายสมพร        ติใหม่
หมู่ที่ 10  บ้านริมกวง          ผู้ใหญ่บ้าน        นายรัชพล        พวงมาลัย
หมู่ที่ 11  บ้านสันมหาพน      ผู้ใหญ่บ้าน        นายชุมพร        ปัญญาจิต

ประชากร
    ประชากร  ตำบลต้นธง  ปัจจุบันมีประชากร  จำนวน  1๒,๑๙๒  คน เป็นชาย  ๕,๗๕๓  คน       หญิง  6,๔๓๙  คน  โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ย  5๓๕  คน / ตารางกิโลเมตร 

ตารางแสดงจำนวนประชากรและครัวเรือนของตำบลต้นธง


จำนวนบ้านทั้งหมด    ๕,๑๙๒  หลังคาเรือน

ที่มา  :  ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน  กรมการปกครอง  อ.เมืองลำพูน
          ณ กุมภาพันธ์ 2559
สภาพทางเศรษฐกิจ
 อาชีพ

            ราษฎรในตำบลต้นธง  ประกอบอาชีพ  ดังนี้
        ๑.  รับจ้างทั่วไป
        ๒.  ทำงานนิคมอุตสาหกรรม 
        ๓.  ด้านการเกษตร  เช่น  ทำนา  ทำสวน  ลำไย  ปลูกผักสวนครัว  เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
        ๔.  รับราชการ 
        ๕.  ค้าขาย
        ๖.  อื่น ๆ
    ราษฎรในตำบลต้นธง  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป  รองลงมาทำงานด้านการเกษตร  การเกษตรกรรม    ตำบลต้นธง  มีพื้นที่สำหรับทำการเกษตรประมาณร้อยละ  67.86  ของพื้นที่ทั้งตำบล  พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่  ทำนา  ทำสวน  การปลูกลำไย  ปลูกฝรั่งและปลูกพืชผักสวนครัว  นอกจากจะใช้พื้นที่ทำการเกษตรแล้ว  ยังได้มีการใช้พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์  ได้แก่  วัว  หมู  ไก่  เป็ด ฯลฯ

หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลต้นธง  มีหน่วยธุรกิจ  ดังนี้บัญชีร้านค้าและธุรกิจในตำบลต้นธง  ปี 2559





สินค้าสำคัญ
    สินค้าที่สำคัญของตำบลต้นธง  ได้แก่  ผ้าไหม  ผ้าฝ้าย  น้ำพริกตาแดง  น้ำพริกลาบ  ไข่เค็ม  ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปผลไม้  การบูร  ยาหม่องน้ำ  หมวกใบลาน
  
สินค้าเกษตร  ที่สำคัญ คือ
    ลำไย   เป็นไม้ยืนต้นที่ปลูกกันมากในตำบลต้นธง
    ข้าว   เป็นผลผลิตที่ใช้ในการบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้หลักของประชาชนในตำบล
    มะม่วง   เป็นไม้ยืนต้นที่ปลูกกันภายในตำบลมีทั้งไว้ขายและนำไปแปรรูป
    ฝรั่ง    เป็นไม้ผลที่ปลูกมากและเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่ได้รับความนิยมในการปลูกและจำหน่าย  บางครั้งไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย
    ผักกาด  ผักชี  คะน้า  พริก  เป็นพืชผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมในการปลูกเนื่องจากพื้นที่ของตำบลต้นธงเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  เหมาะแก่การปลูกพืชผักสวนครัวมาก
    ข้าวโพด  เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันเป็นไร่ ๆ  มีรสชาติ  หวาน  นุ่ม  และอร่อย  และเป็นที่นิยมทั้งจำหน่ายในพื้นที่และส่งออกนอกพื้นที่  สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในตำบลต้นธงอีกด้วย

สภาพสังคม
การศึกษา
         ตำบลต้นธง  มีการจัดระบบการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมีสถานศึกษาในระดับอนุบาล  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  ศูนย์พัฒนาอาชีพอาชีพสตรี  และอุดมศึกษา  ซึ่งสามารถจำแนกได้  ดังนี้

1. การศึกษาในระบบโรงเรียน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลต้นธง   จำนวน  1  แห่ง  แบ่งเป็น
- ช่วงชั้น   1-2                        
- ช่วงชั้น   3-4                   
โรงเรียนในกลุ่มตำบลต้นธง   มีจำนวน     5   แห่ง
1.  โรงเรียนวัดสันต้นธง   
2.  โรงเรียนบ้านศรีย้อย
๓.  โรงเรียนวัดพันตาเกิน   
๔.  โรงเรียนบ้านสันมะนะ
๕.  โรงเรียนวัดจักรคำภิมุข   
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา  2  แห่ง
1.  โรงเรียนอรพินพิทยา   
2.  โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ  48  พรรษา
ศูนย์พัฒนาอาชีพสตรี  1  แห่ง
1.  ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ  72  พรรษา    
ระดับอุดมศึกษา     1  แห่ง
1.  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์จังหวัดลำพูน (มจร.ลำพูน)
2.  การศึกษานอกระบบโรงเรียน    1 แห่ง
        1.  ศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติฯ  ตำบลต้นธง (ศรช.)

สถาบันและองค์การทางศาสนา
    ราษฎรส่วนใหญ่ของตำบลต้นธง  นับถือศาสนาพุทธ  มีวัดทั้งหมด  9   วัด และอาราม 1 แห่ง  ได้แก่
    1.  วัดสันต้นธง                                 ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  2
    2.  วัดกมลธัชยาราม(วัดบ่อแฮ้ว)            ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  3
    3.  วัดรมณียาราม (วัดกู่ระมัก)               ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  4
    4.  วัดพันตาเกิน                               ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  5
    5.  วัดหริการาม                               ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  6
    6.  วัดจักรคำภิมุข                             ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  7
    7.  วัดล้องกู่ไทย                             ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่   8
    8.  วัดกู่เหล็ก                                 ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  10
    9.  วัดป่าพุทธพจนศรีหริภุญชัย            ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่   2
    10.  วัดบ้านล้องกู่คำ                       ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่   9

การสาธารณสุข
1 ตำบลต้นธง  มีสถานีอนามัยประจำตำบล  2  แห่ง  คือ
          1.  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้นธง         ตั้งอยู่ในหมู่ที่  3
          2.  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันมะนะ    ตั้งอยู่ในหมู่ที่  6
2  ตำบลต้นธงมีสถานพยาบาลของรัฐ   1   แห่ง  คือ 
          1.  โรงพยาบาลลำพูน                     ตั้งอยู่ในหมู่ที่  11
3  สถานพยาบาลเอกชน  2  แห่ง  คือ 
            1.  แพทย์ทางเลือก                           ตั้งอยู่ในหมู่ที่  4
           2.  คลินิกมาลีการผดุงครรภ์                   ตั้งอยู่ในหมู่ที่  6

การบริการพื้นฐาน

โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม
    การคมนาคม
    ถนนภายในตำบลต้นธง  ประกอบไปด้วย
-    ถนนลาดยาง
-    ถนนคอนกรีต
-    ถนนลูกรัง
-    ถนนดิน
-    สะพาน

การไฟฟ้า
-    ในตำบลต้นธง  หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้า  จำนวน  11  หมู่บ้าน 

การสื่อสารและโทรคมนาคม
   โทรศัพท์สาธารณะ              ครอบคลุมพื้นที่          11  หมู่บ้าน
   โทรศัพท์บ้าน (โทรศัพท์พื้นฐาน)    ทั้งสิ้น              3,726    ครัวเรือน
   โทรศัพท์มือถือ                ทั้งสิ้น              4,582    ครัวเรือน       

แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำที่สำคัญของตำบลต้นธง คือ
1.  แม่น้ำปิง ไหลผ่านหมู่บ้านตำบลต้นธง  หมู่ที่ 6,9 เป็นแม่น้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร
อุปโภค - บริโภค ของราษฎรในหมู่บ้านที่มีแม่น้ำไหลผ่าน

2.  แม่น้ำกวง ไหลผ่านหมู่บ้านตำบลต้นธง  หมู่ที่   2,3,4,5,9,10  เป็นแม่น้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร อุปโภค – บริโภค ของราษฎรในหมู่บ้านที่มีแม่น้ำไหลผ่าน

3.  ระบบประปาภายในหมู่บ้านของแต่ละหมู่บ้าน ประกอบด้วย
3.1      บ้านสันต้นธง  หมู่ที่  1,2  และบ้านบ่อแฮ้ว  หมู่ที่  3  ใช้ประปาภูมิภาค  จำนวนผู้ใช้น้ำประปา  1,309  ครัวเรือนและใช้ระบบประปาเทศบาลตำบลต้นธง  จำนวนผู้ใช้น้ำ  231  ครัวเรือน
3.2      บ้านศรีย้อย  หมู่ที่  4   มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  2  แห่ง      จำนวนผู้ใช้น้ำ  27  ครัวเรือน
3.3      บ้านพันตาเกิน  หมู่ที่  5  มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  2  แห่ง    จำนวนผู้ใช้น้ำ  43๐  ครัวเรือน
3.4      บ้านสันมะนะ  หมู่ที่  6  มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  2  แห่ง      จำนวนผู้ใช้น้ำ  260 ครัวเรือน
3.5      บ้านจักรคำภิมุข  หมู่ที่  7  มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  1  แห่ง   จำนวนผู้ใช้น้ำ  ๓๑๐  ครัวเรือน
3.6      บ้านใหม่สันมะนะ  หมู่ที่  8  มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  1  แห่ง  จำนวนผู้ใช้น้ำ  2๕๐ ครัวเรือน
3.7      บ้านปากล้อง  หมู่ที่  9  มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  1  แห่ง      จำนวนผู้ใช้น้ำ  160 ครัวเรือน
3.8      บ้านริมกวง  หมู่ที่  10  มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  2  แห่ง       จำนวนผู้ใช้น้ำ  150   ครัวเรือน
และใช้ระบบประปาเทศบาลตำบลต้นธง  จำนวนผู้ใช้น้ำ   49   ครัวเรือน
3.9      บ้านสันมหาพน  หมู่ที่  11  มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  1  แห่ง    จำนวนผู้ใช้น้ำ  1๖๐ ครัวเรือน
รวมระบบประปาหมู่บ้านทั้งตำบล  จำนวน  13  แห่ง  จำนวนผู้ใช้น้ำประปาหมู่บ้าน  2,๒๒๑  ครัวเรือน

4.  ฝาย               1      แห่ง

5.  บ่อน้ำตื้น           6      แห่ง

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
   แหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรที่สำคัญสำหรับเกษตรกรในตำบลต้นธง  คือ
           1.  ลำเหมืองฝายพญาอุต
           2.  ลำเหมืองไม้แดง

5. ข้อมูลอื่น ๆ
      วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี
 ตำบลต้นธงมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มีภาษาพูดเป็นของตนเอง  เรียกว่า  คำเมือง  และ  คำยอง  มีการสืบทอดวัฒนธรรมจากผู้แก่ผู้เฒ่า  จนมาถึงลูกหลาน  ในปัจจุบันได้มีการสืบทอดต่อ ๆ  กันมา  โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
 1.  ประเพณีตานข้าวใหม่  ซึ่งทำกันในช่วงเริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่  ซึ่งประเพณีนี้จะทำกันภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว  ถือเป็นการบูชาพระแม่โพสพ  และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวนา
 2.  ประเพณีปี๋ใหม่เมือง  จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน  แต่ละหมู่บ้านจะจัดให้มีการรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่  สรงน้ำพระ  และจัดให้มีการละเล่นต่าง ๆ  นอกจากนี้แต่ละหมู่บ้านจะจัดให้มีประเพณี รดน้ำดำหัวเจ้าอาวาส  หรือสรงน้ำรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาสซึ่งในงานจะมีมหรสพต่างๆโดยชาวบ้านของหมู่บ้านนั้น ๆ จะจัดเตรียมของนำไปถวาย  การขนทรายเข้าวัด  ก่อกองทรายและฟังเทศน์ฟังธรรม
 3.  ประเพณีแห่เทียนพรรษา  จะจัดขึ้นในวันเข้าพรรษา  ซึ่งทางเทศบาลตำบลต้นธงมอบเทียนพรรษาให้กับสมาชิกเทศบาลตำบลต้นธงแต่ละหมู่บ้าน  เพื่อนำไปถวายวัดทุกวัดในเขตรับผิดชอบ  เพื่อดำรงไว้ซึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ช้านาน
 4.  ประเพณีลอยกระทง   จัดขึ้นในเดือนยี่เป็ง   โดยแต่ละหมู่บ้านจัดให้มีการประกวดเจดีย์ทราย  หนูน้อยนพมาศ  ประกวดกระทง  ประกวดดอกไม้ไฟ  ประกวดซุ้มหน้าบ้าน ที่แสดงถึงการอนุรักษ์ประเพณีลอยกระทง  นอกจากนี้ยังมีการขนทรายเข้าวัด  ซึ่งทรายที่ขนนั้นนำมาจากแม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง และฟังเทศน์  เพื่อเป็นการจรรโลงใจของประชาชนในแต่ละหมู่บ้านอีกด้วย
 5.  ประเพณีสรงน้ำพระธาตุกู่ละมัก  จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ณ บ้านศรีย้อย  หมู่ที่ 4  ตำบล ต้นธง  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน  เป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณภายในงานจะมีการ  สรงน้ำพระธาตุกู่ละมัก  และมีการทำบุญต่าง ๆ  มากมายเพื่อช่วยกันทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
 6.  ประเพณีสรงน้ำพระและกู่ต่าง ๆ  ในตำบลต้นธง  ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะจัดทำขึ้นทุกปี  ช่วงเดือนพฤษภาคม  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีและปลูกฝังจิตสำนึกคนในตำบลให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
            
 การท่องเที่ยว
    ในตำบลต้นธง  มีแหล่งท่องเที่ยว คือ วัดรมณียาราม (วัดกู่ระมัก) , กู่(เจดีย์) บริวาร และ    วิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวนา  ชาวชนบท  รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงชีวจิต  ในการจัดทำโครงการผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง และประเพณีพื้นบ้านในงานเทศกาลต่าง ๆ
     การท่องเที่ยวทางน้ำ  ล่องเรือตามแม่น้ำปิงจากตำบลริมปิงผ่านตำบลต้นธงจนถึงอำเภอป่าซาง  ระหว่างล่องน้ำปิง  แวะขึ้นท่าน้ำที่หมู่ที่ 6  บ้านสันมะนะ  ตำบลต้นธง  เพื่อดูวิถีชีวิตพื้นบ้านและการอยู่อย่างพอเพียง  อาชีพในหมู่บ้านการทำน้ำพริกตาแดง  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการพัฒนาอาชีพในหมู่บ้าน  การใช้ชีวิตตามแบบสมัยอดีต
     ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     ทรัพยากรน้ำ  แหล่งน้ำที่สำคัญในตำบลต้นธง  มีแม่น้ำที่สำคัญ  คือ แม่น้ำปิง  แม่น้ำกวงและมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตามโครงการชลประทานขนาดเล็กของกรมชลประทาน
     การบำบัดน้ำเสีย   ตำบลต้นธง  มีภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมอยู่  2  สถานะชุมชนชานเมืองและชุมชนชนบท  การบำบัดน้ำเสียเป็นไปโดยธรรมชาติ และมีการรณรงค์การจัดทำบ่อดักไขมันไว้ในบ้านก่อนจะปล่อยลงสู่ท่อน้ำและลำเหมืองต่าง ๆ   ขยะ   จ้างเหมาเอกชนให้ทำการจัดเก็บขยะมูลฝอยในพื้นที่ตำบลต้นธง